ส่วนสาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1. ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับอากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2. สวิตช์ความดันสูง – ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม – เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3. คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4. สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5. พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน –เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6. มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7. ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด – ต่อบ่อยเกินไป
8. ตัวรีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9. น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10. คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ
2. สวิตช์ความดันสูง – ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม – เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3. คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4. สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5. พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน –เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6. มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7. ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด – ต่อบ่อยเกินไป
8. ตัวรีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9. น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10. คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ
• หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อย ๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
• หลังจากปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยุดลงบนพื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ดูแอรืรั่วซึมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น