Subscribe:

Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การดูแลรถยนต์หลังจากติดแก๊ส

การดูแลรถยนต์หลังจากติดแก๊ส


การติดตั้งแก๊สรถยนต์ย่อมมีผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างแน่นอน เนื่องจาก แก๊สนั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้กับรถยนต์ดังนั้นจึงควรมีการดูแลที่ใกล้ชิดพอสมควร
1. ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของก๊าซ ตามข้อต่อ และจุดต่างๆ ทุกเดือน โดยใช้ฟองสบู่ หรือเครื่องตรวจวัดการรั่วของก๊าซ
2. ตรวจเช็คและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 5,000 กิโลเมตรซึ่งบ่อยกว่าการตรวจเช็คเมื่อใช้น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว (ปกติ 10,000 กิโลเมตร)
3. ตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับเติมก๊าซ ถังก๊าซตรวจ น็อตที่ยึดถังก๊าซทุกเดือน
4. ควรตรวจเช็ค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะ 40,000 - 60,000 กม. เพราะบ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV และ LPG จะมีโอกาสสึกหรอเร็วกว่า การใช้น้ำมันเบนซิล จึงควรที่จะใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซ เพื่อให้น้ำมันเบนซินไปเคลือบบ่าวาล์วบ้างเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น
5. ห้ามดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานก๊าซที่ได้รับการติดตั้งจากศูนย์ที่ได้มาตรฐานหากมีปัญหาให้รีบติดต่อศูนย์บริการที่ติดตั้งมาทันที
6ห้ามเติมก๊าซเกินแรงดันที่กำหนดไว้ของถัง จะทำให้ถังเสื่อมคุณภาพเร็ว และอาจระเบิดได้
7. เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ควรใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนและหลังการใช้
8. หากเกิดการรั่วไหลของก๊าซ ให้รีบหยุดรถ และดับเครื่องยนต์โดยทันที รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซ และห้ามทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟ ตรวจดูว่าหากไม่มีการรั่วไหล เพิ่ม ให้เปลี่ยนระบบมาใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องแล้วรีบนำรถเข้าไปยังศูนย์บริการที่ติดตั้งโดยทันที
9. หากเกิดไฟไหม้ที่ตัวรถให้รีบดับเครื่องยนต์ปิดวาล์วที่ถังก๊าซโดยทันทีถ้าทำได้ และออกห่างจากตัวรถ หรือพยายามดับไฟที่แหล่งกำเนิด
10. เพื่อรักษาประสิทธิภาพ และคุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมัน ควรมีน้ำ มัน ติดถังไว้อย่างน้อย 1 ส่วน 4 ถังเสมอๆ และเพื่อป้องกัน
ระบบปั๊มน้ำมันเสีย

การดูแลสีรถยนต์

การดูแลสีรถยนต์


การดูแลสีรถยนต์โดยการแวกซ์รถเป็นการปกป้องพื้นผิวรถจากมลภาวะต่างๆ เราไม่จำเป็นต้องแว๊กซ์รถทุกครั้งที่เราล้างรถ เพียงปีละ 2 ครั้งก็เพียงพอ ถ้ารถเริ่มดูหมองๆ หรือน้ำไม่สามารถไหลลงที่ผิวรถเป็นหยดๆ เป็นสัญญาณว่า เราควรแวกซ์ได้แล้ว
การแวกซ์ต้องทำหลังจากการล้างรถ การแวกซ์บนพื้นผิวที่สกปรกจะขูดขีดสีรถได้ ดังนั้นล้างรถให้สะอาดและปล่อยให้แห้งสนิท ก่อนลงมือทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

สิ่งที่จำเป็น
ผ้าขนหนูสะอาด
น้ำสะอาด
แวกซ์
น้ำยาขัดเงา

ขั้นตอนที่ 1 - ขัดเงา
ขัดเงาก่อนที่จะเริ่มลงมือ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งสกปรกจะหลุดออกไปหมด ถ้ารถคุณเป็นรุ่นปี 80 หรือหลังจากนั้น เราแนะนำให้คุณใช้สินค้าที่เป็นแบบใสมากกว่า
โดยทั่วไป ควรจะล้างรถและปล่อยให้แห้งในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง เพราะความร้อนจะทำให้แวกซ์ยาก หลังจากที่เราลงน้ำยาขัดเงาแล้วเริ่มขัดเงาจากด้านบนลงล่าง (หลังคา, กระโปรงหน้า-หลัง, ด้านขวาและด้านซ้าย) น้ำมันขัดเงาอาจมีที่ขัดให้มาด้วย แต่ถ้าไม่มีใช้ผ้าขนหนูธรรมดาก็ได้ โดยให้ขัดเบาๆ และเป็นวงๆ
เมื่อเสร็จแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีให้แห้ง แล้วใช้ผ้าสะอาดอีกผืนขัดออก

ขั้นตอนที่ 2 - ลงแวกซ์
หลังจากที่เราลงและขัดน้ำยาขัดเงาออกแล้ว ถึงเวลาที่เราจะลงแวกซ์ ใส่แวกซ์ลงผ้าสะอาดอีกผืน โดยขัดแบบเดิม เบาๆและเป็นวงๆ รอประมาณ 10 นาที จะสังเกตเห็นว่าสีของแวกซ์จะเริ่มเปลี่ยน ให้ใช้ผ้าเช็ดออกเบาๆ

ขั้นตอน 3 - ขัดสี
หลังจากนั้น ใช้ผ้าสะอาดอีกผืนออกแรงขัดให้สีรถที่เคลือบแวกซ์ใหม่ส่องประกายมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+

ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงประกันภัยประเภท 1 มากที่สุด โดยประกันภัยประเภทนี้จะคุ้มครองเมื่อรถหายและเมื่อเกิดไฟไหม้กับตัวรถของผู้เอาประกัน และจะรับผิดชอบทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เฉพาะเมื่อเกิดกับคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะ และจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประกัน ณ.ที่เกิดเหตุเท่านั้น (บริษัทประกันภัยจะไม่รับผิดชอบตัวรถหรือทรัพย์สินของผู้เอาประกันหากเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี) บริษัทผู้รับประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อตัวผู้เอาประกันและคู่กรณี รถยนต์และทรัพย์สินของผู้เอาประกันและคู่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งจะรับชดใช้โดยไม่คำนึงถึงว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำความผิด ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้เหมาะสมสำหรับรถยนต์ทุกประเภท และสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงแต่ไม่ต้องการชำระเบี้ยประกันภัยประเภท 1 ซึ่งมีราคาสูง

เนื่องจากประกันภัยประเภทนี้เป็นประกันภัยภาคสมัครใจ ผู้ทำประกันสามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตามต้องการ และอัตราเบี้ยสำหรับประกันภัยขึ้นอยู่กับความคุ้มครองผู้ทำประกันเลือก (บริษัทประกันภัยจะพิจารณาทุนประกันไม่เกิน 80% ราคาประเมินของรถยนต์ที่ต้องการทำประกัน) ผู้ที่ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรศึกษาเงื่อนไขและความคุ้มครองต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ความคุ้มครองตามที่ต้องการ

ความคุ้มครอง
ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร (คู่กรณี)
ซ่อมรถของผู้เอาประกัน
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์และทรัพย์สินของคู่กรณี
คุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหาย
รักษาพยาบาลผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
คุ้มครองกรณีรถยนต์เกิดไฟไหม้
วงเงินประกันตัว (สำหรับผู้ขับขี่)

กลุ่มรถยนต์ที่เหมาะสมสำหรับประกันภัยประเภทนี้
รถยนต์ประเภทเก๋ง กระบะบรรทุก และรถตู้โดยสารส่วนบุคคลที่ไม่ไช่รถรับจ้างหรือให้เช่า โดยมีทั้งจำกัดและไม่จำกัดอายุรถ (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของบริษัทผู้รับประกัน) สำหรับกลุ่มรถยุโรปและรถยนต์นำเข้าขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของบริษัทผู้รับประกันแต่ละแห่ง

อัตราเบี้ยประกันภัย
อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส มักจะขึ้นอยู่กับทุนเอาประกัน และส่วนลดจากการระบุค่าเสียหายส่วนแรก ดังนั้นผู้ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรพิจารณาทุนประกันให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้อัตราเบี้ยประกันสูงจนเกินไป อัตราเบี้ยประกันภัยประเภท 2 พลัส ที่ปรากฎในเว็บไซต์ของทูเดย์อินชัวร์ทุกรายการจะได้รับส่วนลดพิเศษสูงสุด 16% สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อตรงกับเรา
- ประกันภัยสำหรับรถเก๋ง ทั้งหมด 466 รายการ อัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 6,170.00 - 15,710.00 บาท
- ประกันภัยสำหรับรถกระบะบรรทุก ทั้งหมด 383 รายการ อัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 6,170.00 - 16,830.00 บาท
- ประกันภัยสำหรับรถตู้โดยสารบุคคล ทั้งหมด 337 รายการ อัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 6,170.00 - 15,050.00 บาท

เอกสารประกอบการขอทำประกันภัย
รถยนต์ที่ต้องการทำประกันภัยประเภท 2 พลัส จะต้องใช้เอกสารเพื่อทำสัญญาดังต่อไปนี้
- สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
- สำเนากรมธรรม์เดิม (ใช้ประกอบการพิจารณาส่วนลด)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน (กรณีต้องการเปลี่ยผู้ดูแลสำหรับกรมธรรม์แบบต่ออายุ หรือ ชื่อผู้เอาประกันไม่ตรงกับรายการจดทะเบียน)
- เอกสารใบแจ้งต่ออายุกรมธรรม์ (ถ้ามี)
- สำเนาเอกสารซื้อขายรถ (กรณีรถจดทะเบียนใหม่ หรือรถเปลี่ยนมือ)

เงื่อนไขส่วนลดต่างๆ
รถยนต์ที่ทำประกันภัยประเภท 2 พลัส จะได้รับสิทธิส่วนลดจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย ดังต่อไปนี้
- ส่วนลดประวัติดี
- ส่วนลดจากการระบุค่าเสียหายส่วนแรก
- ส่วนลดประกันภัยกลุ่ม
- ส่วนลดอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดูแลรถยนต์ยังไง หลังถูกน้ำท่วม

ดูแลรถยนต์ยังไง หลังถูกน้ำท่วม
การดูแลรถยนต์ในสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ความจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแต่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการทำให้รถของท่านกลับมาวิ่งได้อีกครั้ง และมันก็ไม่ยากถ้าคุณรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างทันทีที่น้ำลด


1.อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ เมื่ออุทกภัยจากไปและคุณอยากใช้รถ หลายคนอยากที่จะดูว่าทรัพย์สินอยู่ดีหรือไม่ โดยเฉพาะรถยนต์ที่หลายคนมักจะรีบไปสตาร์ทดูว่าจะใช้งานได้อยู่หรือไม่ ในกรณีนี้ขั้นแรกไม่ควรสตาร์ทรถโดยเด็ดขาด ให้เปิดฝากระโปรง ดูความเสียหายภายในห้องเครื่องยนต์ก่อนว่า มีน้ำอยู่ในชิ้นส่วนใดบ้าง โดยเฉพาะรถรุ่นใหม่ๆ ที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์นั้น ยิ่งไม่ควรสตาร์ทรถทันทีเป็นอย่างยิ่ง

2. ลากไปอู่ นี่อาจเป็นข่าวดีและฝันร้ายสำหรับบรรดาช่างเครื่องทั้งหลายที่คงจะต้องมีงานให้ลากยาวถึงปีใหม่กันเลยทีเดียว แต่เมื่อคุณคิดว่าพร้อม ก็จัดการลากไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู โดยกำชับว่ารถคุณถูกน้ำท่วมมา ซึ่งปกติแล้วจะแยกเป็น 2 กรณี
กรณีแรกที่น้ำท่วมไม่เยอะนั้น ระบบเครื่องยนต์อาจจะได้รับความเสียหายเล็กน้อย โดยเฉพาะถ้าน้ำท่วมไม่มากจนรถของคุณไม่ดำน้ำลงไปทั้งคันนั้น ช่างก็จะไล่ระบบอากาศ โดยเฉพาะกรองอากาศจะต้องลดความชื้น ตรวจสอบหัวเทียน และกล่องควบคุมการทำงาน ที่ต้องมีการไล่ความชื้นเป็นอย่างดี ก่อนที่ช่างจะสตาร์ทเครื่อง ซึ่งโดยมากก็จะมีค่าใช้จ่ายระดับ 5000 -10000 บาท
กรณีที่ 2 ท่วมแบบจมหายทั้งคันนั้น โดยมาก ช่างจะต้องทำงานกันหนักหน่อย และนั่นอาจหมายถึงการผ่าเครื่องยนต์ เพื่อตรวจสอบน้ำที่เข้าสู่เสื้อสูบว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด และทำการไล่น้ำความชื้น และถ้าเครื่องของท่านมีอาการหลวมร่วมด้วยอยู่แล้ว มันก็เป็นโอกาสที่จะโอเวอร์ฮอลเครื่องยนต์ไปพร้อมกัน เพราะยังไงช่างต้องผ่าเครื่องออกอยู่แล้ว

3.ถ่ายของเหลวทุกชนิด จำไว้ว่าน้ำมันไม่ถูกกับน้ำ และโดยมากที่เราแนะให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญก็เพราะ เขาจะจัดการให้หมดรวมถึงน้ำมันเครื่อง แต่เมื่อเครื่องยนต์ใช้ได้ ท่านควรจะเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ โดยเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ และน้ำมันเฟืองท้าย ที่อาจเกิดการเสื่อมคุณภาพได้ หากมีน้ำเข้าไปผสมอยู่ด้วย นี่ยังรวมถึงน้ำมันในถังเพื่อความปลอดภัยด้วย

4. จัดการชุดภายใน นี่เป็นเรื่องที่คุณควรทำอย่างยิ่งโดยเฉพาะรถเก๋งที่โดยมากมักมาพร้อมพรมปูพื้น การซักพรมและชุดภายในเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างรวดเร็วและทันที เพื่อลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ นี่ยังรวมถึงชุดเบาะและอื่นๆอีกด้วยที่ควรจะจัดการเสียให้หมดจดหลังน้ำท่วม
นี่เป็นเพียง 4 ขั้นตอนง่ายๆที่คุณควรทำหลังน้ำท่วมทันที และล่าสุดมีข่าวว่าสำหรับคนใช้รถใหม่

หลังจากขับรถยนต์ลุยน้ำ ควรทำอย่างไร

หลังจากขับรถยนต์ลุยน้ำ เราควรจะทำอย่างไร


1. ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ เพื่อล้างพวกเศษทรายต่าง ๆ ที่มันเกาะติดอยู่ หรือบริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งอาจมีพวกเศษขยะ เศษหญ้า ติดอยู่ ต้องเอาออกให้หมด เพราะถ้าเศษหญ้าแห้งมันติดอยู่ใต้รถ อันตรายที่จะเกิดขึ้น มันใหญ่หลวงนัก หนัก ๆ หน่อย ไฟอาจไหม้ได้ ในคู่มือยังบอกเลยครับว่า รถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ (CAT) ไม่ควรจอดรถไว้บริเวณที่มีต้นหญ้าขึ้นสูง เพราะอุณหภูมิของเจ้า Catalytic Converter นั้น มันค่อนข้างสูงมาก ๆ

2. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ คือ ถ้ามีลักษณะคล้ายสี ชาเย็น นั่นแสดงว่า ต้องมีน้ำเข้าไปอยู่ในระบบเกียร์อย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นไปได้ ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจ เพราะก้านวัดน้ำมันเกียร์นั้นอยู่ค่อนข้างต่ำ และยิ่งรถผ่านการลุยน้ำลึก ๆ มา มันก็จะท่วมตัวเจ้าก้านวัด ซึ่งเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมเข้าไปในระบบเกียร์ และมันก็จะทำให้ระบบเกียร์พัง

3. เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไร ลูกปืนล้อมันก็จะดัง เวลาวิ่งความเร็วสูง ๆ อันนี้ทำใจไว้ได้เลย ว่าอาจต้องเปลี่ยน แต่ โดยปกติแล้ว เจ้าลูกปืนล้อมันจะพังเร็ว ก็เพราะสาเหตุที่ว่า จอดแช่น้ำมากกว่า แต่ถ้าวิ่งผ่านน้ำ โดยปกติ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าแช่น้ำเมื่อไหร่ละก็ เตรียมตัวเสียเงินได้เลย

4. ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ เพราะ หลังการลุยน้ำลึกมา มีโอกาสมากที่น้ำจะซึมเข้ามาภายในห้องโดยสาร เพราะฉะนั้น ต้องเปิดผ้ายาง เปิดพรม เอามือ กดแรง ๆ ดู หรือลองเอากระดาษซับดูว่ามีน้ำอยู่หรือปล่าว ถ้ามีน้ำขังอยู่ภายในห้องโดยสาร ผมคิดว่า น่าจะถึงเวลารื้อพรมกันเลยละครับ เพื่อป้องกันปัญหาตามมา เพราะถ้าคุณไม่รื้อพรม แต่คุณอาจแค่เพียง เอาผ้าซับ ๆ ให้พื้นแห้ง แล้วจอดตากแดด จริง ๆแล้ว มันก็แห้งเหมือนกัน แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นก็คือ สิ่งสกปรกที่มันยังค้างอยู่ในรถของคุณ ซึ่งคุณก็น่าจะรู้ว่า น้ำมันมีเชื้อโรคสารพัด แล้วเมื่อมันแห้ง มันก็จะแพร่เชื้อและเป็นเชื้อราอยู่ในพรม สิ่งที่อยากบอกต่อคือ นอกจากนี้ในรถยังมีระบบปรับอากาศที่มันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แล้วมันก็จะหมุนเวียน กลับไปกลับมา อยู่ในรถของคุณ นั่นก็เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เพราะคุณก็สูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปตลอดเวลา จะว่าไปแล้ว รถสมัยนี้ค่อนข้างออกแบบมาดี ลุยน้ำไม่ค่อยดับกันหรอก ถ้าทำอย่างที่ผมบอกนะครับ ผมว่า จากสายตา วันนี้ผมลุยน้ำลึกไม่น่าต่ำกว่า 50 ซม เพราะรถรุ่นใหม่ ๆ จะย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้า ECU ไว้ในตำแหน่งที่สูง พูดง่าย ๆ ว่า อยู่ในรถกันเลยหละ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนี่เหละ

ขับรถตอนน้ำท่วม ทำอย่างไร

เวลาน้ำท่วม ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะจะได้ไม่ต้องกลัวว่ารถจะดับหรือปล่าว หรือจะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น น้ำจะเข้ารถหรือปล่าว แล้วจะเกิดผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ แต่ถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรทำอย่างไรดีละ


ข้อ 1 คือ ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม
เพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ ที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน และอย่าลืมสิ ว่าเรากำลังลุยน้ำลึก อย่างที่ผมเจอวันนี้ ก็คิดว่าน่าจะเกินระดับพัดลม เพราะฉะนั้น ถ้าเราขืนเปิดพัดลมละก็ สิ่งที่จะตามมา ก็คือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วคุณลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ หรือ ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า ... สิ่งของพวกนี้ มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา

ข้อ 2 ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น

ข้อ 3 คือ ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับ
เพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ที่จริงแล้ว การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1 ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลยทีเดียวติดแน่นอน (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่ารถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) แต่สำหรับรถคาบู ผมเองก็ไม่แน่ใจ ว่าถ้าถึงขั้นน้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วมันจะสตาร์ทติดหรือไม่ แต่สำหรับเครื่องหัวฉีดสบายใจได้ครับ

4. ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา
เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอก ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก

5. ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ