Subscribe:

Ads 468x60px

Featured Posts

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ติดไฟแดงใส่เกียร์ ‘D’ กับ ‘N’ อันไหนดี

     ในขณะที่เราจอดรถติดไฟแดงอยู่นั้น หลายคนเลือกที่จะใส่เกียร์เดินหน้า (D) แล้วเหยียบเบรกค้างไว้เพื่อความสะดวกหากรถคันหน้าเริ่มขยับ แต่หลายคนก็เลือกใช้วิธีเข้าเกียร์ว่าง (N) แทน เพราะไม่ต้องคอยเหยียบเบรก แถมไม่ต้องกังวลว่ารถจะพุ่งไปข้างหน้าโดยไม่ตั้งใจ

     ซึ่งการกระทำทั้ง 2 แบบนั้น ส่งผลต่ออัตราการเผาผลาญน้ำมันต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะจากการทดสอบทั้ง 2 แบบนั้นการใส่เกียร์เดินหน้า (D) มีอัตาการสิ้นเปลืองมากกว่า เกียร์ว่าง (N) ถึง 0.8 ลิตรต่อชั่วโมง  ทั้งนี้ ส่วนต่างของอัตราสิ้นเปลืองที่ได้จากทั้งการใช้เกียร์ทั้ง 2 แบบนั้น จะแตกต่างไปตามรถแต่ละรุ่น แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการใส่เกียร์เดินหน้าไว้ขณะจอดติดไฟแดงนั้น ทำให้รถกินน้ำมันมากขึ้นพอสมควรเลยทีเดียว

     แต่การสลับเกียร์ระหว่าง D และ N บ่อยๆ อาจส่งผลต่อการสึกหรอของระบบเกียร์ไม่มากก็น้อย ทางที่ดีคุณผู้อ่านควรตัดสินจากสภาพจราจรในขณะนั้นว่าควรจะปรับเป็นเกียร์ไหนจึงจะดีที่สุดครับ

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การขับรถบนถนนที่ลื่น

     หากคุณต้องขับรถในหน้าฝน  ซึ่งถนนมักลื่นเปียกอยู่เสมอ   คุณจำเป็นต้องระวัง  เป็นพิเศษเพื่อลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลง การเร่งความเร็วและเบรกแรง ๆ สามารถทำให้รถลื่นไถลได้  จึงจำเป็นต้องระมัดระวังและสร้างสมาธิในการขับมากเป็นพิเศษ  อย่างไรก็ตามจำไว้ว่าหากเกิดการลื่นไถลขึ้นสิ่งที่คุณควรทำคือ
    
     1. อย่าตกใจ
     2. ยกเท้าออกจากคันเร่ง
     3. เหยียบเบรกเบา ๆ
     4. หมุนพวงมาลัยไปทิศทางเดียวกับหน้ารถจนกระทั่งคุณสามารถควบคุมรถได้

ถ้าคุณติดหล่ม
     1. อย่าเร่งเครื่อง  การโม่บดอย่างแรงจะทำให้หลุมลึกขึ้น
     2. โรยกรวดทราย  หรือขยะ  (วัสดุที่เพิ่มการเสียดสีของล้อ)  ด้านหน้าของยางทั้งหมดเพื่อรองรับการบด  โดยเฉพาะล้อท้าย  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ยางยึดเกาะจนเคลื่อนออกจากหลุมได้
     3. ถ้าปฏิบัติตามวิธีทั้งหมดแล้ว  แต่คุณยังไม่สามารถออกจากหลุมได้  ให้โทรขอความช่วยเหลือจากบริการปัญหารถเสีย

แอร์ไม่เย็น

แอร์ไม่เย็น เป็นปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะขับรถ ที่ทำให้คุณเครียด  หงุดหงิด  และเสียสมาธิได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามรถติด 

ส่วนสาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1.    ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับอากาศชำรุด  และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ  ต่อไว้ไม่แน่น 
2.    สวิตช์ความดันสูง – ต่ำในระบบชำรุด  หรือขั้วต่อไม่แน่น  ทำให้คอม – เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน  ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป  คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน  ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3.    คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน  หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4.    สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด  ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5.    พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า  ทำให้ความร้อนที่คอน –เดนเซอร์  (  คอยล์ร้อน )  สูง  สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ  หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6.    มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์  ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน  10  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  เป่าทำความสะอาด  อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้  เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7.    ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ  ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด – ต่อบ่อยเกินไป
8.    ตัวรีซีฟเวอร์ -  ดรายเออร์เสื่อมสภาพ  ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่    ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9.    น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่าง ๆ เช่น  บริเวณข้อต่อ  รั่วที่ซีลดโอริง  รั่วที่คอนเดนเซอร์  (  คอยล์ร้อน )  รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์  เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน  ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม  ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10.      คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ
 
คำแนะนำ
•    หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อย ๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
•    หลังจากปิดแอร์แล้ว  จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยุดลงบนพื้นถนน  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ  แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที  ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ  จะทำให้ดูแอรืรั่วซึมได้

เปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อไรดี

     ยางรถยนต์นั้น จากคำแนะนำเบื้องต้นที่มักได้ยินกันว่าควรเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี หรือไม่ก็ที่ระยะทาง 20,000 - 50,000 กิโลเมตร ถูกต้องแล้วครับ

          เพราะการที่เราใช้ อายุยาง หรือ ระยะทาง มาบอกว่ายางนั้นเสื่อมสภาพนั้นไม่สามารถชี้วัดได้หรอกครับว่ายางรถยนต์เราเสื่อมสภาพจริงไหม ด้วยเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งน้ำหนักรถ พื้นถนนที่ใช้วิ่ง สภาพอากาศ ความดันลมยาง ความเร็วในการขับขี่ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้จึงขอนำความรู้วิธีตรวจยางจากหมดสภาพตามความเป็นจริงมาบอกต่อครับ


          สภาพดอกยาง
          เราสามารถใช้งานได้จนกระทั่งดอกยางสึกหรอเหลือต่ำสุด 1.6 มิลลิเมตร สามารถสังเกตง่าย ๆ ได้จาก จุดสามเหลี่ยมเล็ก ๆ 6 จุดบนไหล่ยางแต่ละด้านเมื่อเจอสัญลักษณ์นี้แล้ว ให้มองตรงขึ้นไป ที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องดอกยาง ก็จะพบสันนูนที่ร่องยาง ซึ่งเรียกว่า สะพานยางและเมื่อไหร่ที่ดอกยางสึก ไปถึงสะพานยาง นั่นแสดงว่ายางหมดอายุการใช้งาน

          ลักษณะยาง
          ถึงแม้ยางไม่หมดอายุแต่เกิดการบวมล่อนขึ้น บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ที่หน้ายาง หรือ ไหล่ยาง ก็ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเช่นกัน เพราะหากยังใช้ต่อไป ยางอาจแตกระเบิดได้

          บาดแผลบนยาง
          ถ้าเกิดบาดแผลขึ้น โดยแผลนั้นมีความลึกไปถึงโครงสร้างยางภายใน และมีความกว้างของบาดแผลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผลบริเวณแก้มยาง ห้ามทำการปะซ่อมและนำมาใช้งานเด็ดขาด ควรเปลี่ยนยางใหม่โดยด่วนทันที

          สภาพเนื้อยาง
          เนื้อแข็ง และกระด้างไม่มีความยืดหยุ่น ทดสอบง่าย ๆ โดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายางเก่า ถ้าใกล้หมดสภาพแล้วมักแทบจิกไม่ลงเลยครับ

          เมื่อรู้แบบนี้ลองไปสำรวจยางรถยนต์ของคุณดูนะว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือปล่าว เพราะบางทีอาจพึ่งเปลี่ยนมาไม่ถึงปีก็อาจจะมีอาการเหล่านี้ได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ คนรอบข้าง และผู้ที่ใช้ถนนร่วมกับคุณ อย่าให้เป็นดังคำที่กว่าไว้ว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" เลยนะครับ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การดูแลที่ปัดน้ำฝน

     ที่ปัดน้ำฝน ควรทำความสะอาดยางปัดน้ำฝน กันบ้าง วิธีการก็ไม่ยาก แค่ใช้ผ้านุ่ม ชุบน้ำ แล้วบิดพอหมาด เช็ดรูดไปตามความยาวของยางใบปัด หากช่วงไหนที่ไม่ค่อยได้ใช้งานที่ปัดน้ำฝนเลย ก็ต้องทำความสะอาดด้วยทุกครั้ง ที่มีการล้างรถ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ไม่ควรใช้ผงซักฟอกผสมน้ำ ทำความสะอาดอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากจะทำให้ยางเสื่อมสภาพแล้ว ยังทำให้สีรถเสียหายได้อีกด้วย

     ส่วนสาเหตุที่ทำให้ ที่ปัดน้ำฝนเกิดเสียงดัง นั้นเกิดจากการที่ตัวยางของที่ปัดน้ำฝนกับกระจกรถมีความฝืดจึงทำให้เกิดเสียงดัง การใช้น้ำยาเคลือบกระจกแบบทำให้น้ำฝนไม่เกาะกระจก จะยิ่งทำให้กระจกหน้าฝืดมากขึ้น ควรใช้น้ำยาเคลือบกระจก โดยเว้นบริเวณกระจกบานหน้าจะดีกว่า หรือถ้าเกิดจากยางปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพ ทำให้เนื้อยางแข็งขึ้นเกิดแรงกดระหว่างยางกับกระจกมากเกินไป ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น ซึ่งการยกก้านที่ปัดน้ำฝนขึ้นขณะจอด โดยหวังว่าจะช่วยรักษายางปัดน้ำฝน นั้น ที่จริงมันไม่ได้ช่วยอะไรเลยนะครับ แต่กลับส่งผลให้ สปริง ที่ก้านปัดน้ำฝน เสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกต่างหาก ทำให้ระยะยาวของแรงสปริง ไม่แน่นพอที่จะกดก้าน ดังนั้นเมื่อเราขับเร็วๆ ก้านจะเกิดอาการลอย และปัดได้ไม่สะอาด

     การเปลี่ยนก้านปัดน้ำฝน ซึ่งการเปลี่ยนก้านปัดน้ำฝนนั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องสภาพกระจกด้วย เหล่าผู้ผลิตยางปัดน้ำฝน ได้อธิบายไว้ว่า ยางปัดน้ำฝน ไม่ได้แนบกับผิวกระจกโดยตรง แต่วิ่งอยู่บนฟิล์มเคลือบผิว ซึ่งอาจจะมีทั้งสารหล่อลื่น และน้ำยาเคลือบผิวกระจก ดั้งนั้น หากเราอยู่ในภาวะที่มีน้ำเยอะ หรือฝนตก ทำให้เกิดฟิล์มน้ำขึ้นมาระหว่างยางปัดน้ำฝนกับกระจก หากไม่มีฟิล์ม ที่ว่ามานี้ ยางปัดน้ำฝนก็จะโดนกับผิวกระจกโดยตรงทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เป็นเรื่องปรกติ ซึ่งมันก็ค่อนข้างจะน่ารำคาญสำหรับผู้ขับ

     หากคุณต้องการเปลี่ยนก้านปัดน้ำฝน ก็ต้องเลือกทั้งยางและก้านที่มีขนาดและชนิดเข้ากันกับกระจกได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่แค่ความยาว เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึง ความโค้งของกระจกด้วย ซึ่งยางและที่ปัดน้ำฝนที่ขายตามห้าง อาจไม่เป๊ะตรงกับรถของคุณ ดังนั้น ลองเปลี่ยนแต่ยางก็ได้นะ แค่เลือกประเภทของยางให้เหมาะสมกับกระจก แค่นี้ก็ได้ที่ปัดน้ำฝนราคาย่อมเยาว์แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนผ้าเบรก

ในปัจจุบันระบบเบรกรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. ดรัมเบรก (Drum Brake)
         ดรัมเบรกจะติดตั้งแน่นกับลูกล้อ เบรกจะทำงานเมื่อมีการถ่างก้ามเบรกให้เสียดสีกับตัวเบรกซึ่งครัมเบรกจะทำให้ล้อหยุด ดรัมเบรกใช้มากในรถบรรทุก ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลบางรุ่น รถบางรุ่นอาจใช้ระบบนี้เฉพาะล้อหลัง

- ข้อดี มีความสามารถในการหยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรกถูกยึดติดกับดุมล้อ เมื่อเหยียบเบรก คนขับใช้แรงกดดันเบรกน้อย รถบางรุ่นไม่จำเป็นต้องใช้หม้อลมเบรกช่วยในการเบรก

- ข้อเสีย ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่างผ้าเบรกในดรัมเบรกนั้น ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี บางครั้งทำให้ผ้าเบรกมีอุณหภูมิสูงมาก มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเบรกลดลง

2. ดิสก์เบรก (Disc Brake)
         เป็นระบบเบรกระบบใหม่ที่นิยมกันมาก เบรกจะทำงานโดยดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้รถหยุด รถยนต์บางรุ่นใช้ดิสก์เบรกทั้ง 4 ล้อ บางรุ่นใช้เฉพาะล้อหน้า

- ข้อดี ลดอาการเฟด (เบรกหาย) เนื่องจากอากาศถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก นอกจากนั้นเมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรก จะสลัดน้ำออกจาก ระบบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขังอยู่ภายใน และใช้เวลาถ่ายเทค่อนข้างช้า

- ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรก ผู้ขับจึงต้องออกแรงมากกว่า จึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรกทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก

แล้วเราควรเปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อ...
         • เปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อผ้าเบรกมีความหนาน้อยกว่า 4 มม. และก้ามเบรกมีผ้าเบรกน้อยกว่า 1 มม. หรือผ้าเบรกเหลือน้อย กว่า 30%
         • เปลี่ยนผ้าเบรกเมื่อมีคราบน้ำมันหรือจารบีมากผิดปกติ
         • เปลี่ยนผ้าเบรกทันทีที่เห็นรอยร้าวบนดิสก์เบรกหรือก้ามเบรก
         • เปลี่ยนผ้าเบรกทุก ๆ 25,000 กม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการขับและการใช้เบรกหากบรรทุกของหนักและขับรถด้วยความ เร็วสูงอายุผ้าเบรกอาจจะสั้นกว่า หากเป็นผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของโลหะสูง อายุของผ้าเบรกจะยาวกว่าผ้าเบรกเกรดที่มีส่วน ผสมของโลหะต่ำหรือผ้าเบรกเกรดโรงงานผลิตรถยนต์ OEM
         • หากเบรกแล้วมีเสียง คล้ายเหล็กครูด เสียดสีกันอาจเกิดจากคลิปผ้าเบรกครูดกับจานเบรก เป็นสัญญาณเตือนว่าควร เปลี่ยนผ้าเบรกได้ ทั้งนี้สิ่งผิดปกตินี้อาจจะไม่ได้เกิดจากผ้าเบรกหมดเสมอไป จึงควรให้ช่างตรวจดูความผิดปกติอื่น ๆ ประกอบด้วย

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้

7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้
คุณเคยนับหรือไม่ว่ามีคนที่ขับรถแย่ๆ หรือคนหยาบคายกี่คนที่ใช้ถนนร่วมกับคุณ? หรือว่าคนขับคนอื่นจะบอกให้คุณรู้ได้อย่างไรว่ารถคุณมีปัญหา โดยการโบกมือไปมางั้นหรือ? เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขับขี่รถด้วยกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น สมาคมผู้ขับขี่แห่งชาติได้พัฒนาสัญญาณขึ้นมา 7 แบบ เพื่อเป็นการส่งข่าวสสื่อสารระหว่างกัน



1. สัญญาณขอโทษ
การเบียดคนอื่นออกไปหรือแซงรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ถ้าคุณพลาดไปแล้ว แสดงการขอโทษเล็กๆ ด้วยสัญลักษณ์ "ขอโทษ" ให้ชูนิ้วขึ้นมา 2 นิ้ว เป็นรูปตัว V แล้วยื่นมือออกไป เพื่อเป็นการขอโทษ

2. ขับช้าๆ ข้างหน้าไม่ปลอดภัย
การที่มีรถจอดขวางอยู่กลางถนนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ ดังนั้นเพื่อเตือนผู้ร่วมทางที่สวนมาถึงเหตุที่เพิ่งผ่านมา ให้ทำการกระพริบไฟสูง ในการเตือนถึงเหตุด้านหน้าให้กับรถที่ตามมาข้างหลัง ให้แตะเบรค หรือยื่นแขนขวาออกไป (พวงมาลัยขวา) แล้วคว่ำลง และโบกให้ช้าลง

3. ขอแซง
อยากแสดงตัวเป็นคนที่มรรยาทหรือ? ใช้สัญลักษณ์นี้เพื่อขอทางแซงรถที่ขับช้า เปิดไฟเลี้ยวขวากระพริบ ประมาณ 4-6 ครั้ง แต่ถ้ารถวิ่งช้าไม่เห็นคุณ ให้กระพริบไฟสูง

4. ส่งสัญญาณ เมื่อรถคันอื่นมีปัญหา
ถ้าสังเกตเห็นว่ารถคันอื่นมีปัญหา ให้ส่งข่าวบอกโดยใช้สัญญาณต่อไปนี้: ชี้นิ้วไปที่จุดที่มีปัญหา แล้วทิ่มหัวแม่มือลง

5. ไฟมีปัญหา (ตรวจสอบสัญญาณไฟ)
สังเกตเห็นว่า รถคันอื่นเปิดไฟทิ้งเอาไว้ ให้สื่อสารด้วยสัญญาณมือ โดยการขยับนิ้วมือ ให้แตะหัวแม่มือกับปลายนิ้วเข้าหากันและขยับเป็นจังหวะถี่ๆ

6. ต้องการความช่วยเหลือ
ถ้าหากคุณมีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ ให้ใช้ 2 มือตั้งฉากกันเป็นรูปตัว "T"

7.เข้าใจแล้ว (ข้าพเจ้าเข้าใจ,ขอบคุณ)
เพื่อเป็นการขอบคุณรถคันอื่นหรือตอบรับการส่งสัญญาณ ให้ใช้สัญญาณ "เข้าใจแล้ว" โดยที่นิยมคือการชูนิ้วหัวแม่มือหรือสัญลักษณ์โอเค