Subscribe:

Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การดูแลรถยนต์หลังจากติดแก๊ส

การดูแลรถยนต์หลังจากติดแก๊ส


การติดตั้งแก๊สรถยนต์ย่อมมีผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างแน่นอน เนื่องจาก แก๊สนั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาใช้กับรถยนต์ดังนั้นจึงควรมีการดูแลที่ใกล้ชิดพอสมควร
1. ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของก๊าซ ตามข้อต่อ และจุดต่างๆ ทุกเดือน โดยใช้ฟองสบู่ หรือเครื่องตรวจวัดการรั่วของก๊าซ
2. ตรวจเช็คและทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 5,000 กิโลเมตรซึ่งบ่อยกว่าการตรวจเช็คเมื่อใช้น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว (ปกติ 10,000 กิโลเมตร)
3. ตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับเติมก๊าซ ถังก๊าซตรวจ น็อตที่ยึดถังก๊าซทุกเดือน
4. ควรตรวจเช็ค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะ 40,000 - 60,000 กม. เพราะบ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV และ LPG จะมีโอกาสสึกหรอเร็วกว่า การใช้น้ำมันเบนซิล จึงควรที่จะใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้ก๊าซ เพื่อให้น้ำมันเบนซินไปเคลือบบ่าวาล์วบ้างเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น
5. ห้ามดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานก๊าซที่ได้รับการติดตั้งจากศูนย์ที่ได้มาตรฐานหากมีปัญหาให้รีบติดต่อศูนย์บริการที่ติดตั้งมาทันที
6ห้ามเติมก๊าซเกินแรงดันที่กำหนดไว้ของถัง จะทำให้ถังเสื่อมคุณภาพเร็ว และอาจระเบิดได้
7. เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ควรใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนและหลังการใช้
8. หากเกิดการรั่วไหลของก๊าซ ให้รีบหยุดรถ และดับเครื่องยนต์โดยทันที รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซ และห้ามทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟ ตรวจดูว่าหากไม่มีการรั่วไหล เพิ่ม ให้เปลี่ยนระบบมาใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องแล้วรีบนำรถเข้าไปยังศูนย์บริการที่ติดตั้งโดยทันที
9. หากเกิดไฟไหม้ที่ตัวรถให้รีบดับเครื่องยนต์ปิดวาล์วที่ถังก๊าซโดยทันทีถ้าทำได้ และออกห่างจากตัวรถ หรือพยายามดับไฟที่แหล่งกำเนิด
10. เพื่อรักษาประสิทธิภาพ และคุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมัน ควรมีน้ำ มัน ติดถังไว้อย่างน้อย 1 ส่วน 4 ถังเสมอๆ และเพื่อป้องกัน
ระบบปั๊มน้ำมันเสีย

การดูแลสีรถยนต์

การดูแลสีรถยนต์


การดูแลสีรถยนต์โดยการแวกซ์รถเป็นการปกป้องพื้นผิวรถจากมลภาวะต่างๆ เราไม่จำเป็นต้องแว๊กซ์รถทุกครั้งที่เราล้างรถ เพียงปีละ 2 ครั้งก็เพียงพอ ถ้ารถเริ่มดูหมองๆ หรือน้ำไม่สามารถไหลลงที่ผิวรถเป็นหยดๆ เป็นสัญญาณว่า เราควรแวกซ์ได้แล้ว
การแวกซ์ต้องทำหลังจากการล้างรถ การแวกซ์บนพื้นผิวที่สกปรกจะขูดขีดสีรถได้ ดังนั้นล้างรถให้สะอาดและปล่อยให้แห้งสนิท ก่อนลงมือทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

สิ่งที่จำเป็น
ผ้าขนหนูสะอาด
น้ำสะอาด
แวกซ์
น้ำยาขัดเงา

ขั้นตอนที่ 1 - ขัดเงา
ขัดเงาก่อนที่จะเริ่มลงมือ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งสกปรกจะหลุดออกไปหมด ถ้ารถคุณเป็นรุ่นปี 80 หรือหลังจากนั้น เราแนะนำให้คุณใช้สินค้าที่เป็นแบบใสมากกว่า
โดยทั่วไป ควรจะล้างรถและปล่อยให้แห้งในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง เพราะความร้อนจะทำให้แวกซ์ยาก หลังจากที่เราลงน้ำยาขัดเงาแล้วเริ่มขัดเงาจากด้านบนลงล่าง (หลังคา, กระโปรงหน้า-หลัง, ด้านขวาและด้านซ้าย) น้ำมันขัดเงาอาจมีที่ขัดให้มาด้วย แต่ถ้าไม่มีใช้ผ้าขนหนูธรรมดาก็ได้ โดยให้ขัดเบาๆ และเป็นวงๆ
เมื่อเสร็จแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีให้แห้ง แล้วใช้ผ้าสะอาดอีกผืนขัดออก

ขั้นตอนที่ 2 - ลงแวกซ์
หลังจากที่เราลงและขัดน้ำยาขัดเงาออกแล้ว ถึงเวลาที่เราจะลงแวกซ์ ใส่แวกซ์ลงผ้าสะอาดอีกผืน โดยขัดแบบเดิม เบาๆและเป็นวงๆ รอประมาณ 10 นาที จะสังเกตเห็นว่าสีของแวกซ์จะเริ่มเปลี่ยน ให้ใช้ผ้าเช็ดออกเบาๆ

ขั้นตอน 3 - ขัดสี
หลังจากนั้น ใช้ผ้าสะอาดอีกผืนออกแรงขัดให้สีรถที่เคลือบแวกซ์ใหม่ส่องประกายมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+

ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงประกันภัยประเภท 1 มากที่สุด โดยประกันภัยประเภทนี้จะคุ้มครองเมื่อรถหายและเมื่อเกิดไฟไหม้กับตัวรถของผู้เอาประกัน และจะรับผิดชอบทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เฉพาะเมื่อเกิดกับคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะ และจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ประกัน ณ.ที่เกิดเหตุเท่านั้น (บริษัทประกันภัยจะไม่รับผิดชอบตัวรถหรือทรัพย์สินของผู้เอาประกันหากเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี) บริษัทผู้รับประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อตัวผู้เอาประกันและคู่กรณี รถยนต์และทรัพย์สินของผู้เอาประกันและคู่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งจะรับชดใช้โดยไม่คำนึงถึงว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำความผิด ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้เหมาะสมสำหรับรถยนต์ทุกประเภท และสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงแต่ไม่ต้องการชำระเบี้ยประกันภัยประเภท 1 ซึ่งมีราคาสูง

เนื่องจากประกันภัยประเภทนี้เป็นประกันภัยภาคสมัครใจ ผู้ทำประกันสามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองได้ตามต้องการ และอัตราเบี้ยสำหรับประกันภัยขึ้นอยู่กับความคุ้มครองผู้ทำประกันเลือก (บริษัทประกันภัยจะพิจารณาทุนประกันไม่เกิน 80% ราคาประเมินของรถยนต์ที่ต้องการทำประกัน) ผู้ที่ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรศึกษาเงื่อนไขและความคุ้มครองต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ความคุ้มครองตามที่ต้องการ

ความคุ้มครอง
ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร (คู่กรณี)
ซ่อมรถของผู้เอาประกัน
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์และทรัพย์สินของคู่กรณี
คุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหาย
รักษาพยาบาลผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
คุ้มครองกรณีรถยนต์เกิดไฟไหม้
วงเงินประกันตัว (สำหรับผู้ขับขี่)

กลุ่มรถยนต์ที่เหมาะสมสำหรับประกันภัยประเภทนี้
รถยนต์ประเภทเก๋ง กระบะบรรทุก และรถตู้โดยสารส่วนบุคคลที่ไม่ไช่รถรับจ้างหรือให้เช่า โดยมีทั้งจำกัดและไม่จำกัดอายุรถ (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของบริษัทผู้รับประกัน) สำหรับกลุ่มรถยุโรปและรถยนต์นำเข้าขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของบริษัทผู้รับประกันแต่ละแห่ง

อัตราเบี้ยประกันภัย
อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส มักจะขึ้นอยู่กับทุนเอาประกัน และส่วนลดจากการระบุค่าเสียหายส่วนแรก ดังนั้นผู้ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรพิจารณาทุนประกันให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้อัตราเบี้ยประกันสูงจนเกินไป อัตราเบี้ยประกันภัยประเภท 2 พลัส ที่ปรากฎในเว็บไซต์ของทูเดย์อินชัวร์ทุกรายการจะได้รับส่วนลดพิเศษสูงสุด 16% สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อตรงกับเรา
- ประกันภัยสำหรับรถเก๋ง ทั้งหมด 466 รายการ อัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 6,170.00 - 15,710.00 บาท
- ประกันภัยสำหรับรถกระบะบรรทุก ทั้งหมด 383 รายการ อัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 6,170.00 - 16,830.00 บาท
- ประกันภัยสำหรับรถตู้โดยสารบุคคล ทั้งหมด 337 รายการ อัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 6,170.00 - 15,050.00 บาท

เอกสารประกอบการขอทำประกันภัย
รถยนต์ที่ต้องการทำประกันภัยประเภท 2 พลัส จะต้องใช้เอกสารเพื่อทำสัญญาดังต่อไปนี้
- สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
- สำเนากรมธรรม์เดิม (ใช้ประกอบการพิจารณาส่วนลด)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน (กรณีต้องการเปลี่ยผู้ดูแลสำหรับกรมธรรม์แบบต่ออายุ หรือ ชื่อผู้เอาประกันไม่ตรงกับรายการจดทะเบียน)
- เอกสารใบแจ้งต่ออายุกรมธรรม์ (ถ้ามี)
- สำเนาเอกสารซื้อขายรถ (กรณีรถจดทะเบียนใหม่ หรือรถเปลี่ยนมือ)

เงื่อนไขส่วนลดต่างๆ
รถยนต์ที่ทำประกันภัยประเภท 2 พลัส จะได้รับสิทธิส่วนลดจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย ดังต่อไปนี้
- ส่วนลดประวัติดี
- ส่วนลดจากการระบุค่าเสียหายส่วนแรก
- ส่วนลดประกันภัยกลุ่ม
- ส่วนลดอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดูแลรถยนต์ยังไง หลังถูกน้ำท่วม

ดูแลรถยนต์ยังไง หลังถูกน้ำท่วม
การดูแลรถยนต์ในสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ความจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแต่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการทำให้รถของท่านกลับมาวิ่งได้อีกครั้ง และมันก็ไม่ยากถ้าคุณรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างทันทีที่น้ำลด


1.อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ เมื่ออุทกภัยจากไปและคุณอยากใช้รถ หลายคนอยากที่จะดูว่าทรัพย์สินอยู่ดีหรือไม่ โดยเฉพาะรถยนต์ที่หลายคนมักจะรีบไปสตาร์ทดูว่าจะใช้งานได้อยู่หรือไม่ ในกรณีนี้ขั้นแรกไม่ควรสตาร์ทรถโดยเด็ดขาด ให้เปิดฝากระโปรง ดูความเสียหายภายในห้องเครื่องยนต์ก่อนว่า มีน้ำอยู่ในชิ้นส่วนใดบ้าง โดยเฉพาะรถรุ่นใหม่ๆ ที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์นั้น ยิ่งไม่ควรสตาร์ทรถทันทีเป็นอย่างยิ่ง

2. ลากไปอู่ นี่อาจเป็นข่าวดีและฝันร้ายสำหรับบรรดาช่างเครื่องทั้งหลายที่คงจะต้องมีงานให้ลากยาวถึงปีใหม่กันเลยทีเดียว แต่เมื่อคุณคิดว่าพร้อม ก็จัดการลากไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู โดยกำชับว่ารถคุณถูกน้ำท่วมมา ซึ่งปกติแล้วจะแยกเป็น 2 กรณี
กรณีแรกที่น้ำท่วมไม่เยอะนั้น ระบบเครื่องยนต์อาจจะได้รับความเสียหายเล็กน้อย โดยเฉพาะถ้าน้ำท่วมไม่มากจนรถของคุณไม่ดำน้ำลงไปทั้งคันนั้น ช่างก็จะไล่ระบบอากาศ โดยเฉพาะกรองอากาศจะต้องลดความชื้น ตรวจสอบหัวเทียน และกล่องควบคุมการทำงาน ที่ต้องมีการไล่ความชื้นเป็นอย่างดี ก่อนที่ช่างจะสตาร์ทเครื่อง ซึ่งโดยมากก็จะมีค่าใช้จ่ายระดับ 5000 -10000 บาท
กรณีที่ 2 ท่วมแบบจมหายทั้งคันนั้น โดยมาก ช่างจะต้องทำงานกันหนักหน่อย และนั่นอาจหมายถึงการผ่าเครื่องยนต์ เพื่อตรวจสอบน้ำที่เข้าสู่เสื้อสูบว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด และทำการไล่น้ำความชื้น และถ้าเครื่องของท่านมีอาการหลวมร่วมด้วยอยู่แล้ว มันก็เป็นโอกาสที่จะโอเวอร์ฮอลเครื่องยนต์ไปพร้อมกัน เพราะยังไงช่างต้องผ่าเครื่องออกอยู่แล้ว

3.ถ่ายของเหลวทุกชนิด จำไว้ว่าน้ำมันไม่ถูกกับน้ำ และโดยมากที่เราแนะให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญก็เพราะ เขาจะจัดการให้หมดรวมถึงน้ำมันเครื่อง แต่เมื่อเครื่องยนต์ใช้ได้ ท่านควรจะเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ โดยเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ และน้ำมันเฟืองท้าย ที่อาจเกิดการเสื่อมคุณภาพได้ หากมีน้ำเข้าไปผสมอยู่ด้วย นี่ยังรวมถึงน้ำมันในถังเพื่อความปลอดภัยด้วย

4. จัดการชุดภายใน นี่เป็นเรื่องที่คุณควรทำอย่างยิ่งโดยเฉพาะรถเก๋งที่โดยมากมักมาพร้อมพรมปูพื้น การซักพรมและชุดภายในเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างรวดเร็วและทันที เพื่อลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ นี่ยังรวมถึงชุดเบาะและอื่นๆอีกด้วยที่ควรจะจัดการเสียให้หมดจดหลังน้ำท่วม
นี่เป็นเพียง 4 ขั้นตอนง่ายๆที่คุณควรทำหลังน้ำท่วมทันที และล่าสุดมีข่าวว่าสำหรับคนใช้รถใหม่

หลังจากขับรถยนต์ลุยน้ำ ควรทำอย่างไร

หลังจากขับรถยนต์ลุยน้ำ เราควรจะทำอย่างไร


1. ล้างรถ รวมถึง การฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถด้วย รวมทั้งบริเวณซุ้มล้อ เพื่อล้างพวกเศษทรายต่าง ๆ ที่มันเกาะติดอยู่ หรือบริเวณใต้ท้องรถ ซึ่งอาจมีพวกเศษขยะ เศษหญ้า ติดอยู่ ต้องเอาออกให้หมด เพราะถ้าเศษหญ้าแห้งมันติดอยู่ใต้รถ อันตรายที่จะเกิดขึ้น มันใหญ่หลวงนัก หนัก ๆ หน่อย ไฟอาจไหม้ได้ ในคู่มือยังบอกเลยครับว่า รถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ (CAT) ไม่ควรจอดรถไว้บริเวณที่มีต้นหญ้าขึ้นสูง เพราะอุณหภูมิของเจ้า Catalytic Converter นั้น มันค่อนข้างสูงมาก ๆ

2. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่า มันมีสีผิดปกติหรือไม่ คือ ถ้ามีลักษณะคล้ายสี ชาเย็น นั่นแสดงว่า ต้องมีน้ำเข้าไปอยู่ในระบบเกียร์อย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นไปได้ ก็เปลี่ยนน้ำมันเกียร์มันซะเลย เพื่อความสบายใจ เพราะก้านวัดน้ำมันเกียร์นั้นอยู่ค่อนข้างต่ำ และยิ่งรถผ่านการลุยน้ำลึก ๆ มา มันก็จะท่วมตัวเจ้าก้านวัด ซึ่งเป็นไปได้ที่น้ำจะซึมเข้าไปในระบบเกียร์ และมันก็จะทำให้ระบบเกียร์พัง

3. เช็คลูกปืนล้อ ซึ่ง พูดง่าย ๆ ว่า เจอน้ำทีไร ลูกปืนล้อมันก็จะดัง เวลาวิ่งความเร็วสูง ๆ อันนี้ทำใจไว้ได้เลย ว่าอาจต้องเปลี่ยน แต่ โดยปกติแล้ว เจ้าลูกปืนล้อมันจะพังเร็ว ก็เพราะสาเหตุที่ว่า จอดแช่น้ำมากกว่า แต่ถ้าวิ่งผ่านน้ำ โดยปกติ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าแช่น้ำเมื่อไหร่ละก็ เตรียมตัวเสียเงินได้เลย

4. ตรวจสอบ พื้นพรมในรถ ว่า เปียกชื้นหรือไม่ เพราะ หลังการลุยน้ำลึกมา มีโอกาสมากที่น้ำจะซึมเข้ามาภายในห้องโดยสาร เพราะฉะนั้น ต้องเปิดผ้ายาง เปิดพรม เอามือ กดแรง ๆ ดู หรือลองเอากระดาษซับดูว่ามีน้ำอยู่หรือปล่าว ถ้ามีน้ำขังอยู่ภายในห้องโดยสาร ผมคิดว่า น่าจะถึงเวลารื้อพรมกันเลยละครับ เพื่อป้องกันปัญหาตามมา เพราะถ้าคุณไม่รื้อพรม แต่คุณอาจแค่เพียง เอาผ้าซับ ๆ ให้พื้นแห้ง แล้วจอดตากแดด จริง ๆแล้ว มันก็แห้งเหมือนกัน แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นก็คือ สิ่งสกปรกที่มันยังค้างอยู่ในรถของคุณ ซึ่งคุณก็น่าจะรู้ว่า น้ำมันมีเชื้อโรคสารพัด แล้วเมื่อมันแห้ง มันก็จะแพร่เชื้อและเป็นเชื้อราอยู่ในพรม สิ่งที่อยากบอกต่อคือ นอกจากนี้ในรถยังมีระบบปรับอากาศที่มันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แล้วมันก็จะหมุนเวียน กลับไปกลับมา อยู่ในรถของคุณ นั่นก็เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เพราะคุณก็สูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปตลอดเวลา จะว่าไปแล้ว รถสมัยนี้ค่อนข้างออกแบบมาดี ลุยน้ำไม่ค่อยดับกันหรอก ถ้าทำอย่างที่ผมบอกนะครับ ผมว่า จากสายตา วันนี้ผมลุยน้ำลึกไม่น่าต่ำกว่า 50 ซม เพราะรถรุ่นใหม่ ๆ จะย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้า ECU ไว้ในตำแหน่งที่สูง พูดง่าย ๆ ว่า อยู่ในรถกันเลยหละ รวมถึงกล่องฟิวส์ต่าง ๆ ติดตั้งไว้ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนี่เหละ

ขับรถตอนน้ำท่วม ทำอย่างไร

เวลาน้ำท่วม ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะจะได้ไม่ต้องกลัวว่ารถจะดับหรือปล่าว หรือจะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น น้ำจะเข้ารถหรือปล่าว แล้วจะเกิดผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ แต่ถ้ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราควรทำอย่างไรดีละ


ข้อ 1 คือ ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม
เพราะ สาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ ที่ผมบอกอย่างนี้ ก็เพราะว่า เมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน และอย่าลืมสิ ว่าเรากำลังลุยน้ำลึก อย่างที่ผมเจอวันนี้ ก็คิดว่าน่าจะเกินระดับพัดลม เพราะฉะนั้น ถ้าเราขืนเปิดพัดลมละก็ สิ่งที่จะตามมา ก็คือ ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วคุณลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ เครื่องจะดับเอาง่าย ๆ หรือ ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุน ๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ขณะที่เราลุยน้ำ อะไรมันจะลอยมาบ้าง มันมีสารพัด ไม่ว่าจะเป็น ขยะ กิ่งไม้ ไม้หน้าสาม ถุงพลาสติก รองเท้า ... สิ่งของพวกนี้ มันมีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า เราขับรถต่อไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา

ข้อ 2 ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ครับ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น

ข้อ 3 คือ ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะเห็นผู้ขับขี่หลาย ๆ คนมักจะเร่งเครื่องแรง ๆ เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะกลัวเครื่องดับ
เพราะกลัวน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ แท้ที่จริงแล้ว การเร่งเครื่อง ยิ่งทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1 ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสียครับ เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วคุณสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้คุณจอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อคุณเข้าไปในรถ แล้วสตาร์ทรถ ผมกล้าพูดได้เลยทีเดียวติดแน่นอน (กรณีนี้ ที่ผมกล้าพูดว่ารถสามารถสตาร์ทติด คือ น้ำท่วม แค่ท่วมท่อไอเสียนะ ไม่ใช่ท่วมฝากระโปรงนะครับ) แต่สำหรับรถคาบู ผมเองก็ไม่แน่ใจ ว่าถ้าถึงขั้นน้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วมันจะสตาร์ทติดหรือไม่ แต่สำหรับเครื่องหัวฉีดสบายใจได้ครับ

4. ควรลดความเร็วลง เมื่อ กำลังจะขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา
เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น อย่างที่ผมบอก ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ หลังจากเราลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ ก็คือ ข้อแรก พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าเราไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก

5. ไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ จะทำให้เกิดน้ำค้างอยู่ในหม้อพัก สิ่งที่จะตามมาคือ มันจะผุ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ขับรถทางไกลต้องเตรียมตัวอย่างไร

หากคุยกันถึงเรื่องการขับรถทางไกล ๆ แล้วมีคนสงสับว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรกันบ้างเพื่อให้การเดินทางปลอดภัยราบรื่น หลัก ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้น เตรียมรถ(พาหนะ) เตรียมคม (ขับรถ)ถนนหนทางสมัยนี้ค่อนข้างกว้างขวางสะดวกสบาย ใครที่มีรถยนต์เป็นของตนเองก็คงไม่พ้นอยากจะหาโอกาสว่าง ๆ หรือวันหยุดตามเทศกาลต่าง ๆ ที่ติด ๆ กันหลาย ๆ วันขับรถเดินทางไปเที่ยวตามต่างจังหวัดทั้งไกลและใกล้กันบ้างแหละน่า

แต่ก่อนจะเดินทางเราควรจะสำรวจตรวจตรากันก่อนดีไหมครับว่าทำอย่างไรเราจึงจะเดินทางขับรถกันไกล ๆ โดยไม่มีอุปสรรคขัดข้องอันใดมาทำให้เสียฤกษ์เสียอารมณ์ (หรือบางครั้งอาจถึงเสียชีวิตและเลือดเนื้อ) ก็อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าโดยหลักใหญ่ ๆ ก็หนีไม่พ้นการเตรียมพร้อมทั้งคนและรถนั่นเอง


การเตรียมพร้อมของคน (ขับรถ) ที่สำคัญ ๆ ก็คือ

เตรียมพร้อมเรียนรู้เส้นทางที่กำลังจะเดินทางไป การเรียนรู้เส้นทางจะช่วยให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็วขึ้น อาจไม่ต้องถึงกับรู้ทะลุปรุโปร่ง แต่อย่างน้อยควรจะรู้ว่าหากเดินทางไปทางเหนือควรจะออกนอกเมืองทางด้านไหน ขับไปบนถนนสายอะไร และจะต้องผ่านจังหวัดอะไรกันบ้าง การเรียนรู้เส้นทางนี้ก็ง่ายนิดเดียว หาแผนที่ของกรมทางหลวงฉบับปีปัจจุบันมากางดูสักหน่อย หรืออาจจะสอบถามจากเพื่อนฝูงที่เคยเดินทางไปในเส้นทางนั้น ๆ มาแล้ว (ยิ่งถ้าเพิ่งจะเดินทางสด ๆ ร้อน ๆ เลยยิ่งดีใหญ่ เพราะจะทำให้เราทราบถึงสภาพเส้นทางและถนนในปัจจุบันด้วย) เช่น ควรใช้เส้นทางใดจะสะดวกหรือปลอดภัยกว่า มีทางชำรุดตรงไหนบ้างหรือไม่ เหล่านี้เป็นรายละเอียดที่สำคัญสำหรับการเดินทางขับรถไปในที่ไกล ๆ ทั้งนั้นแหละ

การเตรียมพร้อมทางสภาพร่างกายของผู้ทำหน้าที่ขับรถก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ไม่ว่าเส้นทางจะไกลหรือใกล้เพียงใดการขับรถเป็นเวลานาน ๆ ร่างกายจะต้องได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ไม่ใช่ว่าจะเดินทางวันจันทร์ คืนวันอาทิตย์ยังเมาแอ๋ออยู่แถว ๆ RCA เลย ถ้าเป็นแบบนี้คงต้องสงสัยไว้ก่อนแหละว่าหนังสือพิมพ์วันจันทร์คงจะมีรูปนายคนนั้นอยู่เป็นที่แน่นอนแล้ว (ตรงนี้อยากให้ทุก ๆ ท่านพึงสังวรณ์ว่าหากสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์พร้อมแล้วมาขับรถยนต์ (ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้) ก็เท่ากับว่าเตรียมใจที่จะตายไปกว่าครึ่งแล้วและอาจเตรียมเผื่อคนรอบ ๆ ข้างอีกสักที่สองที่หรือเป็นสิบที่ก็ไม่แปลก) นอกจากนี้ แม่จะไม่เมาไม่ง่วงก็ต้องมีร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยเจ็บเป็นไข้หวัด หรือเป็นโรคปัจจุบันทันด่วน เช่น โรคหัวใจ หรือโรคลมต่าง ๆ ไม่มีอาการปวดศีรษะ สรุปว่าร่างกายต้องแข็งแรง สายตาต้องแจ่มใส (สั้นไม่เป็นไร) ทั้งนี้การขับรถทางไกลจะทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและเมื่อยล้ามากบ้างน้อยบ้างตามแต่สถานการณ์ ที่ป่วยอยู่หรือใกล้จะป่วยอาจจะมา “ออกอาการ” เอายามนั้นก็ได้

อีกอย่างที่ต้องห้ามขาดคือ สุรายาดองของมึนเมาและสิ่งเสพติดทั้งหลาย อย่าได้ริเป็นอันขาดไม่ว่ากรณีได ๆ ถ้าท่านจะต้องขับรถ ไม่ว่าเจ้าสุราแก้วนั้นใครจะเป็นคนซื้อมาให้กินก็ขอให้ปฎิเสธไว้ก่อน เพราะผู้มีพระคุณท่านนั้นกำลังหยิบยื่นความฉิบหายมาให้ทั้งเราและผู้โดยสานในรถรวมทั้งคนในรถคันอื่น ๆ คิดดูดี ๆ คนเมาน่ะแม้จะเกินยังเดินเองไม่ไหว แล้วให้ไปขับรถที่มันมีความเร็วสูงกว่าเดิมตั้งเยอะ อย่างนี้ไม่ตายก็คงเลี้ยงไม่โต ถ้ายังอยากจะไปเที่ยวกันให้สนุกและกลับมาใช้ชีวิตต่ออย่างปลอดภัยล่ะ ก้อ เชื่อข้าน้อยเถอะ

นอกจากการเตรียมตัวที่ดีแล้ว การขับรถที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง (จะเป็นจะตายก็อยู่ตรงนี้ด้วยเหมือนกัน) อย่าใช้ความเร็วสูงมากรวมทั้งไม่ควรขับอยู่เลนขวาตลอดเพราะอาจจะมีรุที่วิ่งเร็วกว่าเราตามมา ที่สำคัญอาจโดนจับความเร็วหรือข้อหาวิ่นในเลนขวาเพราะเลนขวาของทางหลวงเขามีไว้สำหรับแซง อย่างไปถึงเต็ว ๆ ก็ออกเดินทางเร็ว ๆ เผื่อเวลาไว้สำหรับเจอรถติดหรืออุปสรรคต่าง ๆ รวมทั้งเวลาที่จะหยุดพักกินข้าวกินน้ำ เติมน้ำมันด้วย หากไม่เผือเวลาไว้ก็อาจจะต้องใช้ความเร็วสูงซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุแล้วยังเป็นการสะสมความเครียดให้กับทุกชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ด้วย นอกจากนี้ไม่ควรขับจี้ติดท้ายรถคันหน้ามากเกินไป ควรทิ้งระยะไว้บ้างเพื่อให้ทัศนวิสัยกว้างขั้น และสามารถตัดสินใจได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อีกอย่างที่พึงคิดไว้บ่อย ๆ คือแม้จะเป็นเลนของเราแต่ถ้ามีรถเร็วกว่าต้องการแซงควรเปิดทางให้ ยิ่งถ้าเป็นรถในเลนสวนทางที่ห้อตะบึงมา หลบได้ขอให้หลบหลีกได้ก็ขอให้หลีก อย่ามัวคิดว่าเลนข้าใครอย่าแตะ อาจจะเหลือเป็นห่อ ๆ กลับบ้านก็ได้

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากที่สุดอีกอย่างคือปฏิบัติตามกฏจราจรอย่างเคร่งครัด มีผู้ขับรถเป็นจำนวนมากที่ปฏิบัติตามกฏจราจร (จล) อย่างเคร่งครัดเสียเหลือเกินเลยทำให้เกิดความวุ่นวายกับผู้คนอื่น ๆ ที่เขาร่วมใช้รถใช้ถนนกับท่านเหล่านั้นเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น

คนขับรถช้ากว่าคันอื่น (ไม่กลัวเต่ากัดล้อ) แต่ขอโทษทีเถอะ วิ่งอยู่เลนขวาสุดของถนนเลยแหละ

บางคนดูป้ายและสัญญาณกันไม่เป็น อ่านไม่ออกแปลไม่ได้ว่าเขาตั้งใจจะบอกว่าอะไรหรือห้ามอะไรหรือจะแนะนำอะไร (สันนิษฐานได้ว่าใบขับขี่นี้ไปซื้อมา) ตรงที่เขาห้างเลี้ยวหรือกลับรถเสียออกหน้าออกตา บางท่านตาบอดสีเห็นไฟแดงเป็นไฟเขียวเห็นไฟเหลืองก็เป็นไฟเขียว (อีกเหมือนกัน) แบบนี้ถ้าขับรถในเมืองอาจแค่บาดเจ็บหรือรถยับเยินนิดหน่อยแต่ถ้าเป็นทางต่างจังหวัด ขอโทษทีอาจจะดูไม่ออกว่าเป็นซากรถอะไร

นอกจากนี้ถ้าสังเกตป้ายข้างทางจะมีบอกไว้เมื่อวิ่งผ่านเขตชุมชนหรือเขตโรงรียน ขอให้ลดความเร็วลงด้วย แต่บางท่านคงเป็นลูกครึ่งอ่านภาษาไทยไม่ค่อยออกก็เลยยิ่งกดคันเร่งเพิ่มความเร็วเข้าไปอีก (ให้มันรู้กันไปเลย) และยังมีอีกหลาย ๆ ตัวอย่างซึ่งถ้าจะให้เขียนทั้งหมดคงต้องใช้เวลาเป็นปีกับกระดาษอีกเยอะแยะ จึงอยากจะสรุปสำหรับประเด็นนี้ว่า จงเคารพกฏจราจร (ไม่ใช่เคารพกฏจลาจล) ก็จะก่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางไปในทุกที่และทุกเวลา

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

นโยบายรถคันแรก

มาตรการภาษีรถยนต์คันแรกที่กระทรวงการคลังเสนอ มีรายละเอียดของการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้


หลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกที่สำคัญ ดังนี้คือ ต้องเป็น
1. เป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
2. เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1,000,000 บาท/คัน
3. เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถยนต์กระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab)
4. เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ)
5. คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/คัน
6. ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
7. ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี และ
8. การคืนเงินจะคืนให้เมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปี ไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป)

ส่วนวิธีการดำเนินงานนั้นกำหนดให้
1. ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)
2. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอให้ตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ
3. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในระบบคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน
4. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ส่งหนังสือรับรองการครอบครองรถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และ
5. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป.

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
มารู้จักประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 กันครับ การทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการคุ้มครองตัวรถยนต์และผู้เอาประกันอย่างสูงสุด บริษัทผู้รับประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อตัวผู้เอาประกันและคู่กรณี รถยนต์และทรัพย์สินของผู้เอาประกันและคู่กรณีทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำความผิด ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้เหมาะสมสำหรับรถยนต์จดทะเบียนใหม่ทุกประเภท และรถที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว (ซึ่งเงื่อนไขการรับประกันอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้รับประกันแต่ละแห่ง) และเนื่องจากอัตราเบี้ยสำหรับประกันภัยประเภทนี้มีความหลากหลาย ผู้ที่ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรศึกษา เงื่อนไขและส่วนลดต่างๆ เพื่อให้ได้เบี้ยประกันในอัตราที่ต่ำที่สุด
ความคุ้มครอง
ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร (คู่กรณี)
ซ่อมรถของผู้เอาประกัน
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
รถยนต์และทรัพย์สินของคู่กรณี
คุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหาย
รักษาพยาบาลผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
คุ้มครองกรณีรถยนต์เกิดไฟไหม้
วงเงินประกันตัว (สำหรับผู้ขับขี่)

กลุ่มรถยนต์ที่เหมาะสมสำหรับประกันภัยประเภทนี้
รถยนต์จดทะเบียนใหม่ทุกประเภท และรถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี สำหรับรถเก๋ง อายุการใช้งานไม่เกิน 12 ปี สำหรับรถกระบะ (สำหรับรถที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น สำหรับกลุ่มรถนำเข้าขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง)

อัตราเบี้ยประกันภัย
อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ถูกกำหนดด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น กลุ่มของรถ ประเภทการใช้งาน อายุของตัวรถ ผู้ขับขี่ และทุนเอาประกัน เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยมีความหลากหลาย แต่ปัจจุบันมีเบี้ยประกันภัยแบบแพกเกจที่บริษัทประกันภัยได้จัดทำ เพื่อให้การคำนวณเบี้ยประกันภัยมีความสะดวกมากขึ้น อัตราเริ่มต้นต่ำกว่า 10,000 บาท และอัตราเบี้ยจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามที่บริษัทประกันภัยกำหนดไว้ในแต่ละแพกเกจ ในกรณีที่ผู้ต้องการทำประกันต้องการทราบเบี้ยประกันนอกเหนือจากนี้ต้องใช้วิธี สอบถามเบี้ยประกัน ในระบบปกติ อัตราเบี้ยประกันภัยประเภท 1 แบบแพคเกจที่ปรากฎในเว็บไซต์ของทูเดย์อินชัวร์ และจากใบเสนอราคาทุกรายการจะได้รับส่วนลดพิเศษ สูงสุด 16% สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อตรงกับเรา

เอกสารประกอบการขอทำประกันภัย
รถยนต์ที่ต้องการทำประกันภัยประเภท 1 จะต้องใช้เอกสารเพื่อทำสัญญาดังต่อไปนี้
- สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
- สำเนากรมธรรม์เดิม (ใช้ประกอบการพิจารณาส่วนลด)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน (กรณีต้องการเปลี่ยผู้ดูแลการต่ออายุกรมธรรม์ หรือ ชื่อผู้เอาประกันไม่ตรงกับรายการจดทะเบียน)
- สำเนาใบขับขี่ (ของผู้ขับขี่ที่ต้องการระบุในการแจ้งทำประกัน)
- เอกสารใบแจ้งต่ออายุกรมธรรม์ (ถ้ามี)
- สำเนาเอกสารซื้อขายรถ (กรณีรถจดทะเบียนใหม่ หรือรถเปลี่ยนมือ)

เงื่อนไขส่วนลดต่างๆ
รถยนต์ที่ทำประกันภัยประเภท 1 จะได้รับสิทธิส่วนลดจากบริษัทประกันภัยดังต่อไปนี้
- ส่วนลดประวัติดี สูงสุด 50%
- ส่วนลดจากการระบุผู้ขับขี่ สูงสุด 20%
- ส่วนลดจากการระบุค่าเสียหายส่วนแรก สูงสุด 5,000 บาท
- ส่วนลดประกันภัยกลุ่ม ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป
- ส่วนลดอื่นๆ (ตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย)

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สีรถยนต์บอกนิสัย

สีรถยนต์ที่คุณชอบเป็นพิเศษสามารถบอกถึงบุคลิก อุปนิสัยของคุณได้ ไม่เชื่อต้องลองพิสูจน์ดูว่าจริงหรือไม่


สีดำ เป็นคนใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีความอดทน ความพยายาม ใจคอหนักแน่น มั่นคน ชอบให้โอกาศคน

สีแดง เป็นคนที่กล้าได้กล้าเสีย ใจร้อนโผงผาง ชอบการพนัน ผจญภัย มีความเชื่อมั่นในตนเอง

สีขาว คนที่ชอบรถสีนี้ เป็นคนที่มีจิตใจดี อ่อนโยน ชอบช่วยเหลือเด็ก สตรีและคนชรา ไม่เห็นแก่ตัว แต่เป็นคนที่ไม่ยอมรับสิ่งต่างๆรอบตัว

สีน้ำเงิน เป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงความเฉลียวฉลาดให้ใครเห็น นอกจากจะได้คลุกคลีด้วย ซื่อสัตย์ รักสงบ ชอบอยู่บ้าน เป็นคนที่รักเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของตนอย่างมาก

สีทอง คนที่ชอบรถสีนี้ เป็นคนที่ขยันขันแข็ง เอาการเอางานจนตัวเป็นเกลียว รักความสบาย ไปไหนมาไหนมีคนนับหน้าถือตา แต่เขาก็ไม่ลืมที่จะแบ่งปันเงินทองที่หามาได้

สีเหลือง เป็นพวกที่ชอบศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เป็นพวกที่เข้าใจชีวิต ใส่ใจต่อความรู้สึกของคนรอบข้าง มีความพยายาม

สีน้ำตาล เป็นคนที่รวยอารมณ์ขัน คนที่อยู่ด้วยจะพลอยร่าเริงแจ่มใส มีชีวิตชีวาตามไปด้วย จริงใจ รักสนุก จะเป็นจุดสนใจของคนทั่วไป

สีเขียว คนที่ชอบรถสีนี้เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ชอบใกล้ชิดธรรมชาติ เป็นคนขยันขันแข็ง ชอบทำงานและพักผ่อนมากๆรักความสงบ

สีม่วง คนที่ชอบรถสีนี้จะมีความเป็นศิลปิน มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ แหวกแนว จนบางครั้ง คนใกล้ชิดของคุณอาจหาว่าคุณเพี้ยน ๆ ก็ได้นะ

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

12 เรื่องต้องรู้ในการดูแลรถยนต์

12 วิธีที่จะช่วยให้คุณดูแลรถยนต์ที่คุณรักให้อยู่กับคุณนานๆ


1. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร ถึงแม้ในคู่มือจะระบุไว้มากกว่านี้ ส่วนไส้กรองน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร

2. ตรวจดูระดับน้ำในหม้อน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

3. ตรวจดูลมยางให้ได้ความดันตามที่กำหนดในคู่มือ ตรวจดูบ่อยตามความจำเป็นในการเดินทางไกลหรือการบรรทุกน้ำหนัก ซึ่งจะกำหนดว่าน้ำหนักเท่าไรควรเติมความดันเท่าไร

4. เปลี่ยนหัวเทียนทุก ๆ 15,000-20,000 กิโลเมตร

5. ตรวจดูไส้กรองอากาศว่าสะอาดดีหรือเปล่า มีรูหรือไม่ เพราะถ้ามีรู แม้เท่าปลายดินสอ แล้วขับรถยนต์ไปในที่ที่มีฝุ่นมาก ๆ ฝุ่นจะเข้าไปทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่ากำหนด

6. ตรวจดูมาตรวัดต่าง ๆ ที่จำเป็น ว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่ เพราะสามารถบอกความผิดปกติของรถยนต์ได้เป็นอย่างดี

7. ตรวจดูน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ได้จากด้านข้างของหม้อแบตเตอรี่ โดยจะมีขีดกำหนดอยู่ 2 ขีดคือ ขีดบนและขีดล่าง อย่าให้ระดับน้ำกลั่นต่ำกว่าขีดล่าง เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียได้ และอย่าเติมเกินกว่าขีดบน

8. สังเกตเสียงที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน เพราะจะเป็นตัวบอกเหตุให้เราได้รู้ว่ามีสิ่งใดในรถยนต์ของเราเกิดความเสียหาย ก่อนที่จะเสียมากขึ้น

9. สังเกตพื้นที่จอดรถยนต์ว่ามีน้ำหรือน้ำมันเครื่องหยดลงมาเลอะพื้นหรือไม่ ดูด้วยว่าหยดลงในตำแหน่งใด เพราะจะบอกเราได้ว่าส่วนใดของรถที่เกิดการสึกหรอแล้วรั่วซึม

10. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายตามที่คู่มือกำหนดไว้

11. ตรวจดูน้ำมันเบรกที่อยู่ในกระป๋องว่ายุบเร็วกว่าปกติหรือไม่ หากยุบเร็ว อาจเกิดการรั่วซึมที่ใดก็ได้

12. ตรวจดูระบบไฟในรถยนต์ว่ายังใช้การได้ดีอยู่หรือไม่

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

7 วิธีดูแลรถยนต์คู่ใจ

7 วิธีดูแลรถยนต์คู่ใจ

รถยนต์ โดยเฉพาะรถเก๋ง ไม่รวมรถ 4x4,รถบรรทุก ฯลฯ เมื่อซื้อหรือได้มาแล้ว ต้องใช้งานให้ตรงตามจุดประสงค์ มิฉะนั้นจะได้ผลตอบแทนด้านลบ ถ้าเป็นรถก็จะเสียเร็ว สภาพเสื่อมโทรม เสียบ่อย สิ้นเปลื้องค่าซ่อมแซม ค่าอะไหล่ บางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเรา ต่อไปนี้จะเป้น 7 วิธีการใช้งานของรถหลายรูปแบบตามสภาพมาให้ระมัดระวังกัน


1.อย่าลุยน้ำลึก รถไม่ใช่เรือครับ ชิ้นส่วนหลายๆอย่างของรถเปียกน้ำได้แต่แช่น้ำไม่ได้ เช่น ลูกปืนเพลาขับ ลูกปืนล้อ กลไกของระบบเบรค ถ้าเอาไปลุยน้ำลึกๆหรือจอดแช่น้ำนานๆ อายุมันอาจสั้นลงเหลือไม่ถึงครึ่ง บางส่วนอาจชำรุดภายในไม่กี่วัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง

2.เอาไปลุยหลุมบ่อโดยไม่ยั้ง ความจริงอาจจะไม่ได้เจตนาเอาไปลุยเพียงแต่ว่าไม่ได้ระมัดระวัง อีกอย่างกฏหมายบ้านเรายังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใช้รถไม่สามารถเอาผิดต่อผู้ที่รับผิดชอบสภาพผิวถนนได้เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ดังนั้นเวลาขับควรมีสมาธิและสังเกตผิวถนน พบหลุมหรือโหนกก็ควรหลีกเลี่ยง ชะลอความเร็วหรือเบรคทันทีก็ต้องทำครับ แต่ต้องคำนึงถึงรถคันหลังที่ตามมาด้วย และอย่าลืมว่าเขาไม่ได้สร้างรถมาสำหรับตกหลุมลึกหรือหลุมที่มีขอบคมเป็ยบั้งแบบในบ้านเรานะครับ ทั้งยางและล้ออาจจะชำรุด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยางซีรีย์ต่ำแก้มบาง ลูกหมากจะมีอายุสั้นลง ระบบบังคับเลี้ยวก็ไม่ทนทานถ้าใช้งานอย่างที่ผมว่ามาเราไม่มีสิทธิ์ไปโทษผู้ผลิตว่าสร้างรถมาไม่ทนทานนะครับ

3.จอดแตกแดดทั้งวันเป็นประจำ แค่วันทำงานจันทร์ถึงศุกร์ก็แย่แล้วครับ เพราะแสงแดดในประเทศเรามีพิษสงร้ายกาจมาก ควรหาทางหลีกเลี่ยง เช่น หาเงาจากร่มไม้หรือตัวอาคารบัง ให้โดนเฉพาะช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ก็ลดภาระของสีที่พ่นตัวถังไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะสีเมทัลลิค ถ้าคุณภาพไม่สูงจะเสื่อมสภาพด้านและแตกระแหงในเวลาไม่กี่ปี ชิ้นส่วนภายในรถก็เช่นกัน แผงหน้าปัดด้านบนเป็นส่วนที่รับภาระหนักที่สุด ควรหาผ้าหรือกระดาษบังแสงแดดไว้ ปิดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าเป็นรถที่ไม่เสี่ยงต่อการถูกโขมยควนแง้มกระจกขนาดเอานิ้วก้อยสอดได้ไว้ทุกบานเพื่อให้อากาศถ่ายเท

4.เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย บางคนไม่ยอมเข้าศูนย์บริการนิยมซ่อมตามอู่ข้างถนนหรือซอกซอยเพราะถูก และหลงใหลกับคำพูดโอ้อวดของช่างทำนองว่า "ซ่อมมานานจนหลับตาทำได้แล้ว" ผมบอกได้เลยว่ารถสมัยนี้ขนาดช่างตามศูนย์บริการที่ได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนเฉพาะรุ่น ยังไม่เข้าใจระบบการทำงานหลายๆอย่างใรตัวรถอย่างถ่องแท้เลยครับ ผลสุดท้ายก็ต้องซมซานมาเข้าศูนย์บริการเสียเงินอีกรอบอย่างนี้คงไม่ดีแน่

5.ไม่เข้าศูนย์บริการตามกำหนด คือเข้าเฉพาะเมื่อรถเสียหรือเริ่มมีอาการ บางรายบอกว่าขับอยู่ดีๆได้ทุกวัน พอเข้าศูนย์บริการตามกำหนด มีเรื่องให้เปลี่ยนทุกที ไม่ใช่เขาโกงนะครับ (ที่โกงจริงก็มีบางแห่งเหมือนกัน) ช่างเค้าตรวจพบก่อนที่มันจะสำแดงอาการ เช่น พบว่าสายพานมีแผลหรือท่อน้ำเริ่มปริ ฯลฯ ก็คิดเสียว่าดีกว่าไปเสียกลางถนนนะครับ

6.ซื้อรถมาจอด กลัวมันโทรม ลืมไปว่าเป็นเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้งานอย่างหนึ่ง ข้อสำคัญคือแม้จะจอดเฉยๆ มูลค่าของมันก็ลดลงทุกวัน (เพราะมันไม่ใช่รถคลาสสิครุ่นพิเศษที่จะเพิ่มค่าตามอายุ)สรปแล้วถ้าคิดจะซื้อมาใช้มีทางเดียวที่ถูกต้องครับคือใช้ให้คุ้มกับเงินที่เสียไป

7.จอดนาน(คนละข้อกับข้อ6นะครับ) ประเภทเป็นหนึ่งในรถหลายคัน ที่เจ้าของมีอยู่และเบื่อแล้ว การจอดรถทิ้งไว้นานๆโดยไม่ใช้งานเลยให้โทษแก่รถมากมาย กลไลเบรคจะติดขัด โครงสร้างยางส่วนที่กดติดกับพื้นจะบิดจนไม่สามารถคลายตัวได้ ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์จะมีไอน้ำเกาะและขึ้นสนิม แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพ ฯลฯ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือเข็นรถเปลี่ยนตำแหน่งทุกๆสัปดาห์ หรือใช้งานสักอาทิตย์ละวันและควรใช้งานเกิน 30 นาทีด้วย เครื่องยนต์ถึงจะร้อนได้ทั่วถึง ไอน้ำในหม้อพักไอเสียจึงจะระเหยแห้งไปได้