Subscribe:

Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สีรถยนต์บอกนิสัย

สีรถยนต์ที่คุณชอบเป็นพิเศษสามารถบอกถึงบุคลิก อุปนิสัยของคุณได้ ไม่เชื่อต้องลองพิสูจน์ดูว่าจริงหรือไม่


สีดำ เป็นคนใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีความอดทน ความพยายาม ใจคอหนักแน่น มั่นคน ชอบให้โอกาศคน

สีแดง เป็นคนที่กล้าได้กล้าเสีย ใจร้อนโผงผาง ชอบการพนัน ผจญภัย มีความเชื่อมั่นในตนเอง

สีขาว คนที่ชอบรถสีนี้ เป็นคนที่มีจิตใจดี อ่อนโยน ชอบช่วยเหลือเด็ก สตรีและคนชรา ไม่เห็นแก่ตัว แต่เป็นคนที่ไม่ยอมรับสิ่งต่างๆรอบตัว

สีน้ำเงิน เป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงความเฉลียวฉลาดให้ใครเห็น นอกจากจะได้คลุกคลีด้วย ซื่อสัตย์ รักสงบ ชอบอยู่บ้าน เป็นคนที่รักเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของตนอย่างมาก

สีทอง คนที่ชอบรถสีนี้ เป็นคนที่ขยันขันแข็ง เอาการเอางานจนตัวเป็นเกลียว รักความสบาย ไปไหนมาไหนมีคนนับหน้าถือตา แต่เขาก็ไม่ลืมที่จะแบ่งปันเงินทองที่หามาได้

สีเหลือง เป็นพวกที่ชอบศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เป็นพวกที่เข้าใจชีวิต ใส่ใจต่อความรู้สึกของคนรอบข้าง มีความพยายาม

สีน้ำตาล เป็นคนที่รวยอารมณ์ขัน คนที่อยู่ด้วยจะพลอยร่าเริงแจ่มใส มีชีวิตชีวาตามไปด้วย จริงใจ รักสนุก จะเป็นจุดสนใจของคนทั่วไป

สีเขียว คนที่ชอบรถสีนี้เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ชอบใกล้ชิดธรรมชาติ เป็นคนขยันขันแข็ง ชอบทำงานและพักผ่อนมากๆรักความสงบ

สีม่วง คนที่ชอบรถสีนี้จะมีความเป็นศิลปิน มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบค้นคิดสิ่งแปลกใหม่ แหวกแนว จนบางครั้ง คนใกล้ชิดของคุณอาจหาว่าคุณเพี้ยน ๆ ก็ได้นะ

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

12 เรื่องต้องรู้ในการดูแลรถยนต์

12 วิธีที่จะช่วยให้คุณดูแลรถยนต์ที่คุณรักให้อยู่กับคุณนานๆ


1. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร ถึงแม้ในคู่มือจะระบุไว้มากกว่านี้ ส่วนไส้กรองน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร

2. ตรวจดูระดับน้ำในหม้อน้ำบ่อย ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

3. ตรวจดูลมยางให้ได้ความดันตามที่กำหนดในคู่มือ ตรวจดูบ่อยตามความจำเป็นในการเดินทางไกลหรือการบรรทุกน้ำหนัก ซึ่งจะกำหนดว่าน้ำหนักเท่าไรควรเติมความดันเท่าไร

4. เปลี่ยนหัวเทียนทุก ๆ 15,000-20,000 กิโลเมตร

5. ตรวจดูไส้กรองอากาศว่าสะอาดดีหรือเปล่า มีรูหรือไม่ เพราะถ้ามีรู แม้เท่าปลายดินสอ แล้วขับรถยนต์ไปในที่ที่มีฝุ่นมาก ๆ ฝุ่นจะเข้าไปทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่ากำหนด

6. ตรวจดูมาตรวัดต่าง ๆ ที่จำเป็น ว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่ เพราะสามารถบอกความผิดปกติของรถยนต์ได้เป็นอย่างดี

7. ตรวจดูน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ได้จากด้านข้างของหม้อแบตเตอรี่ โดยจะมีขีดกำหนดอยู่ 2 ขีดคือ ขีดบนและขีดล่าง อย่าให้ระดับน้ำกลั่นต่ำกว่าขีดล่าง เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียได้ และอย่าเติมเกินกว่าขีดบน

8. สังเกตเสียงที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน เพราะจะเป็นตัวบอกเหตุให้เราได้รู้ว่ามีสิ่งใดในรถยนต์ของเราเกิดความเสียหาย ก่อนที่จะเสียมากขึ้น

9. สังเกตพื้นที่จอดรถยนต์ว่ามีน้ำหรือน้ำมันเครื่องหยดลงมาเลอะพื้นหรือไม่ ดูด้วยว่าหยดลงในตำแหน่งใด เพราะจะบอกเราได้ว่าส่วนใดของรถที่เกิดการสึกหรอแล้วรั่วซึม

10. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายตามที่คู่มือกำหนดไว้

11. ตรวจดูน้ำมันเบรกที่อยู่ในกระป๋องว่ายุบเร็วกว่าปกติหรือไม่ หากยุบเร็ว อาจเกิดการรั่วซึมที่ใดก็ได้

12. ตรวจดูระบบไฟในรถยนต์ว่ายังใช้การได้ดีอยู่หรือไม่

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

7 วิธีดูแลรถยนต์คู่ใจ

7 วิธีดูแลรถยนต์คู่ใจ

รถยนต์ โดยเฉพาะรถเก๋ง ไม่รวมรถ 4x4,รถบรรทุก ฯลฯ เมื่อซื้อหรือได้มาแล้ว ต้องใช้งานให้ตรงตามจุดประสงค์ มิฉะนั้นจะได้ผลตอบแทนด้านลบ ถ้าเป็นรถก็จะเสียเร็ว สภาพเสื่อมโทรม เสียบ่อย สิ้นเปลื้องค่าซ่อมแซม ค่าอะไหล่ บางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเรา ต่อไปนี้จะเป้น 7 วิธีการใช้งานของรถหลายรูปแบบตามสภาพมาให้ระมัดระวังกัน


1.อย่าลุยน้ำลึก รถไม่ใช่เรือครับ ชิ้นส่วนหลายๆอย่างของรถเปียกน้ำได้แต่แช่น้ำไม่ได้ เช่น ลูกปืนเพลาขับ ลูกปืนล้อ กลไกของระบบเบรค ถ้าเอาไปลุยน้ำลึกๆหรือจอดแช่น้ำนานๆ อายุมันอาจสั้นลงเหลือไม่ถึงครึ่ง บางส่วนอาจชำรุดภายในไม่กี่วัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง

2.เอาไปลุยหลุมบ่อโดยไม่ยั้ง ความจริงอาจจะไม่ได้เจตนาเอาไปลุยเพียงแต่ว่าไม่ได้ระมัดระวัง อีกอย่างกฏหมายบ้านเรายังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใช้รถไม่สามารถเอาผิดต่อผู้ที่รับผิดชอบสภาพผิวถนนได้เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ดังนั้นเวลาขับควรมีสมาธิและสังเกตผิวถนน พบหลุมหรือโหนกก็ควรหลีกเลี่ยง ชะลอความเร็วหรือเบรคทันทีก็ต้องทำครับ แต่ต้องคำนึงถึงรถคันหลังที่ตามมาด้วย และอย่าลืมว่าเขาไม่ได้สร้างรถมาสำหรับตกหลุมลึกหรือหลุมที่มีขอบคมเป็ยบั้งแบบในบ้านเรานะครับ ทั้งยางและล้ออาจจะชำรุด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยางซีรีย์ต่ำแก้มบาง ลูกหมากจะมีอายุสั้นลง ระบบบังคับเลี้ยวก็ไม่ทนทานถ้าใช้งานอย่างที่ผมว่ามาเราไม่มีสิทธิ์ไปโทษผู้ผลิตว่าสร้างรถมาไม่ทนทานนะครับ

3.จอดแตกแดดทั้งวันเป็นประจำ แค่วันทำงานจันทร์ถึงศุกร์ก็แย่แล้วครับ เพราะแสงแดดในประเทศเรามีพิษสงร้ายกาจมาก ควรหาทางหลีกเลี่ยง เช่น หาเงาจากร่มไม้หรือตัวอาคารบัง ให้โดนเฉพาะช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ก็ลดภาระของสีที่พ่นตัวถังไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะสีเมทัลลิค ถ้าคุณภาพไม่สูงจะเสื่อมสภาพด้านและแตกระแหงในเวลาไม่กี่ปี ชิ้นส่วนภายในรถก็เช่นกัน แผงหน้าปัดด้านบนเป็นส่วนที่รับภาระหนักที่สุด ควรหาผ้าหรือกระดาษบังแสงแดดไว้ ปิดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าเป็นรถที่ไม่เสี่ยงต่อการถูกโขมยควนแง้มกระจกขนาดเอานิ้วก้อยสอดได้ไว้ทุกบานเพื่อให้อากาศถ่ายเท

4.เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย บางคนไม่ยอมเข้าศูนย์บริการนิยมซ่อมตามอู่ข้างถนนหรือซอกซอยเพราะถูก และหลงใหลกับคำพูดโอ้อวดของช่างทำนองว่า "ซ่อมมานานจนหลับตาทำได้แล้ว" ผมบอกได้เลยว่ารถสมัยนี้ขนาดช่างตามศูนย์บริการที่ได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนเฉพาะรุ่น ยังไม่เข้าใจระบบการทำงานหลายๆอย่างใรตัวรถอย่างถ่องแท้เลยครับ ผลสุดท้ายก็ต้องซมซานมาเข้าศูนย์บริการเสียเงินอีกรอบอย่างนี้คงไม่ดีแน่

5.ไม่เข้าศูนย์บริการตามกำหนด คือเข้าเฉพาะเมื่อรถเสียหรือเริ่มมีอาการ บางรายบอกว่าขับอยู่ดีๆได้ทุกวัน พอเข้าศูนย์บริการตามกำหนด มีเรื่องให้เปลี่ยนทุกที ไม่ใช่เขาโกงนะครับ (ที่โกงจริงก็มีบางแห่งเหมือนกัน) ช่างเค้าตรวจพบก่อนที่มันจะสำแดงอาการ เช่น พบว่าสายพานมีแผลหรือท่อน้ำเริ่มปริ ฯลฯ ก็คิดเสียว่าดีกว่าไปเสียกลางถนนนะครับ

6.ซื้อรถมาจอด กลัวมันโทรม ลืมไปว่าเป็นเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้งานอย่างหนึ่ง ข้อสำคัญคือแม้จะจอดเฉยๆ มูลค่าของมันก็ลดลงทุกวัน (เพราะมันไม่ใช่รถคลาสสิครุ่นพิเศษที่จะเพิ่มค่าตามอายุ)สรปแล้วถ้าคิดจะซื้อมาใช้มีทางเดียวที่ถูกต้องครับคือใช้ให้คุ้มกับเงินที่เสียไป

7.จอดนาน(คนละข้อกับข้อ6นะครับ) ประเภทเป็นหนึ่งในรถหลายคัน ที่เจ้าของมีอยู่และเบื่อแล้ว การจอดรถทิ้งไว้นานๆโดยไม่ใช้งานเลยให้โทษแก่รถมากมาย กลไลเบรคจะติดขัด โครงสร้างยางส่วนที่กดติดกับพื้นจะบิดจนไม่สามารถคลายตัวได้ ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์จะมีไอน้ำเกาะและขึ้นสนิม แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพ ฯลฯ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือเข็นรถเปลี่ยนตำแหน่งทุกๆสัปดาห์ หรือใช้งานสักอาทิตย์ละวันและควรใช้งานเกิน 30 นาทีด้วย เครื่องยนต์ถึงจะร้อนได้ทั่วถึง ไอน้ำในหม้อพักไอเสียจึงจะระเหยแห้งไปได้